FAQ
- Home
- FAQ
Browse FAQ Topics
How to Order
อ่านเพิ่มเติม ปิด
อ่านเพิ่มเติม ปิด
อ่านเพิ่มเติม ปิด
อ่านเพิ่มเติม ปิด
Stainless Bottle
ในกรณีที่การดูแลรักษาไม่เพียงพอจนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น สนิมเกาะ ฯลฯ จะทำให้อายุการใช้งานของกระติกสั้นลงได้หรือการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้สารฟอกขาวประเภท Chlorine Bleach การใช้แปรงขัดแบบโลหะหรือแปรงที่ทำให้เกิดการสึกกร่อน ฯลฯ ก็ส่งผลให้อายุการใช้งานของกระติกลดลงเช่นกัน
นอกจากนี้ การกระแทกอย่างรุนแรงจากการทำตกหรือการชน ฯลฯ ก็เป็นสาเหตุของอายุการใช้งานที่สั้นลงเช่นกัน
อนึ่ง อะไหล่จำพวกยาง ฝาด้านใน ชุดฝา ถือเป็นสินค้าสิ้นเปลือง กรุณาตรวจสอบอะไหล่ยางว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือไม่เป็นประจำทุกปี อะไหล่ที่ทำจากพลาสติก เช่น ฝาด้านในหรือชุดฝา ฯลฯ หากพบว่าอะไหล่มีความสากหรือเกิดความเสียหาย กรุณาเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ (มีค่าใช้จ่าย)
Read More Read Less
ห้ามใส่เครื่องดื่มดังต่อไปนี้ลงในกระติกเด็ดขาด :
- เครื่องดื่มที่ใส่น้ำแข็งแห้ง・น้ำอัดลม
เนื่องจากจะทำให้แรงดันในกระติกสูงขึ้น และเปิดฝาไม่ได้ หรืออาจทำให้เครื่องดื่มที่ใส่ล้นออกมาสร้างความเสียหายต่อฝาด้านในหรือชุดฝา กระทั่งอาจทำให้ฝากระเด็นออกมาจนเกิดอันตรายได้ - เครื่องดื่ม/ อาหารที่มีส่วนผสมของเกลือมาก เช่น
ชาสาหร่ายญี่ปุ่น・ซุป・ซุปมิโซะ เป็นต้น
แม้ด้านในกระติกจะเคลือบสารฟลูออรีนไว้ แต่การใส่เครื่องดื่มประเภทดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมหรือส่งผลให้ประสิทธิภาพการเก็บอุณหภูมิลดลง - เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้・นม・เครื่องดื่มที่ใส่นม
เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวมีส่วนประกอบที่สามารถเน่าเสียได้ ในกรณีที่ปล่อยเครื่องดื่มดังกล่าวทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดแก๊สจากการเน่าเสีย แรงดันด้านในกระติกจะสูงขึ้นจนทำให้เครื่องดื่มล้นออกมาสร้างความเสียหายต่อฝาด้านในหรือชุดฝา กระทั่งอาจทำให้ฝากระเด็นออกมาจนเกิดอันตรายได้ - เนื้อผลไม้・ใบชา
เศษเนื้อผลไม้หรือใบชาที่เหลือติดอยู่เป็นสาเหตุความเสียหายต่อตัวผลิตภัณฑ์
Read More Read Less
กรุณาดูแลรักษาตัวกระติกให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกิดกลิ่น คราบสกปรกหรือเชื้อราด้านในกระติก โดยหมั่นล้างกระติกทุกครั้งหลังใช้งานสำหรับกระติกที่สามารถแยกชิ้นส่วนอะไหล่ได้ กรุณาแยกอะไหล่ออกทุกครั้งก่อนล้างทำความสะอาด(สามารถดูข้อมูลโดยละเอียดได้ในคู่มือ)
ด้านนอกกระติก/ ชุดฝา/ ปากกระติก/ ฝากระติก (cup)- ผสมน้ำยาล้างจานและน้ำอุ่นเข้าด้วยกัน แล้วนำฟองน้ำไปชุบเพื่อใช้ทำความสะอาด
- หลังจากล้างทำความสะอาดดีแล้ว เช็ดน้ำออกและนำไปตากให้แห้ง
- กรุณาถอดยางออกจากฝาก่อนล้างทุกครั้ง
- กรุณาใช้แปรงขนาดเล็กที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดสำหรับการทำความสะอาดในจุดที่ล้างยาก
- ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำอุ่นเข้าด้วยกัน แล้วนำแปรงฟองน้ำผิวนุ่มไปชุบเพื่อใช้ทำความสะอาดด้านในกระติก
- หลังจากล้างทำความสะอาดดีแล้ว เช็ดน้ำออกและนำไปตากให้แห้ง
- การทำความสะอาดกระติกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นและทำให้รักษาความสะอาดของกระติกได้ในการใช้งานทุกครั้ง
- ในกรณีที่มีคราบซึ่งทำความสะอาดยากติดอยู่บนชุดฝาหรือด้านในและด้านนอกตัวกระติก
กรุณาใช้ผงทำความสะอาดของโซจิรูชิ “Pika Bottle” ในการขจัดคราบ
ดูวิธีการซื้ออะไหล่และสินค้าอื่นๆได้ที่นี่ - ห้ามนำกระติกไปต้มและห้ามล้างกระติกด้วยเครื่องล้างจานหรือเครื่องอบจาน
- กรุณาอย่าใช้สารฟอกขาวประเภท Chlorine Bleach ในการทำความสะอาด
เนื่องจากการใช้สารฟอกขาวชนิดนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวกระติก เช่น การเกิดสนิม (ด้านในกระติกสปริงในฝา) หรือทำให้เกิดรู (ด้านในกระติก) - กรุณาอย่าใช้สารฟอกขาวกับด้านนอกกระติกด้วยเช่นกัน
เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สี ตัวสกรีน หรือซีลที่แปะอยู่หลุดออกมาได้ - กรุณาอย่าทำความสะอาดกระติกด้วยทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แปรงขัดที่เป็นโลหะ ผงขัดเงา คลีนเซอร์ ฟองน้ำที่ทำจากเมลามีน ฯลฯ
- ไม่ควรทำความสะอาดกระติกด้วยการแช่ทิ้งไว้ในน้ำ แม้จะเป็นรุ่นที่สามารถล้างได้โดยไม่ต้องแยกอะไหล่
- สำหรับรุ่นดังกล่าว หลังจากล้างตัวกระติกเสร็จแล้ว กรุณาเช็ดน้ำที่ตัวกระติกออกแล้วนำไปตากให้แห้งสนิท
Read More Read Less
Read More Read Less
ในกรณีนี้ให้ใส่น้ำร้อนที่ผสมน้ำส้มสายชู 10% ลงในกระติก แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง โดยเปิดฝาไว้ หลังจากนั้นล้างด้านในกระติกให้สะอาด
ทั้งนี้ หากปล่อยกระติกที่มีเชื้อราทิ้งไว้ อาจทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้
ดังนั้นเมื่อพบว่ามีจุดคล้ายเชื้อราอยู่ด้านในกระติก กรุณาทำความสะอาดกระติกทันทีด้วยน้ำส้มสายชูดังที่อธิบายไว้ด้านบน
Read More Read Less
สารเคลือบด้านในกระติกนั้นอาจเกิดการหลุดลอกหรือทำให้สีไม่สม่ำเสมอกันได้ตามอายุการใช้ง่าย
ทั้งนี้สารเคลือบที่ใช้ด้านในกระติกได้ผ่านมาตรฐานของกฎหมายควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
ทำให้แม้จะเผลอรับประทานเข้าไปก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตามเมื่อตัวเคลือบเริ่มหลุดลอก สิ่งสกปรกจะติดได้ง่ายขึ้นและทำให้สนิมเกาะได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่แนะนำให้ใช้กระติกนั้นอีก
อนึ่งห้ามทำความสะอาดกระติกโดยใช้ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แปรงขัดที่เป็นโลหะ ผงขัดเงา คลีนเซอร์ ฟองน้ำที่ทำจากเมลามีน หรือสารฟอกขาวประเภท Chlorine Bleach เนื่องจากเป็นสาเหตุของการเกิดรอยด้านในกระติก
Read More Read Less
การทำความสะอาดไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดรอยดำหรือคราบสกปรกได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระติกที่ใส่เครื่องดื่มจำพวก เครื่องดื่มเกลือแร่ (sport drink)
หากทำความสะอาดไม่ดีพอ ส่วนประกอบของเครื่องดื่มที่เหลืออยู่ (เช่น น้ำตาล)
จะเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราได้
กรณีที่ทำความสะอาดแล้วแต่ยังคงมีรอยดำเหลืออยู่ กรุณาซื้อยางเพื่อเปลี่ยนใหม่
(มีค่าใช้จ่าย)
Read More Read Less
วัสดุที่ใช้ผลิตสินค้าประเภทแก้วน้ำ คือ สแตนเลส
หากพบจุดที่เป็นสนิม สามารถกำจัดได้โดยเทน้ำร้อนที่ผสมน้ำส้มสายชู 10% ลงในแก้วน้ำ
แช่ทิ้งไว้ 30 นาที - 1 ชั่งโมง จึงล้างภายในแก้วน้ำให้สะอาดอีกครั้ง
กรณีที่พบสนิม กรุณาทำความสะอาดด้วยน้ำส้มสายชูทันที
หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการลุกลามได้
Read More Read Less
เนื่องจากชั้นสุญญากาศที่ตัวแก้วน้ำเกิดความเสียหาย ทำให้ประสิทธิภาพการเก็บอุณหภูมิร้อนเย็นลดลง ดังนั้นกรุณาหยุดใช้แก้วน้ำดังกล่าว
สาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชั้นสุญญากาศมีดังนี้
- ทำตกหรือกระแทก (มีรอยบุบที่ตัวแก้วน้ำ)
- สึกกร่อนที่ตัวแก้วจากการใช้สารฟอกขาว
Read More Read Less
เกิดจากประสิทธิภาพการเก็บอุณหภูมิร้อนเย็นลดลง จากความเสียหายของชั้นสุญญากาศที่ตัวแก้วน้ำ กรุณาหยุดใช้แก้วดังกล่าว เพราะอาจลวกมือได้
สาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชั้นสุญญากาศมีดังนี้
- ทำตกหรือกระแทก (มีรอยบุบที่ตัวแก้วน้ำ)
- สึกกร่อนจากการใช้สารฟอกขาว
- สึกกร่อนจากการแช่น้ำ (แช่ทิ้งไว้ในน้ำ)
Read More Read Less
Food Jar and Lunch Jar
แกงกะหรี่ สตูว์ ข้าว สลัด หรือผลไม้สามารถใส่ได้หรือไม่?
รายการดังต่อไปนี้ห้ามใส่ลงใน Food Jar/ Lunch Jar โดยเด็ดขาด
- น้ำแข็งแห้ง・น้ำอัดลม
เนื่องจากจะทำให้แรงดันในกระติกสูงขึ้น และทำให้ไม่สามารถเปิดฝาได้ หรืออาจทำให้เครื่องดื่มที่ใส่ล้นออกมาสร้างความเสียหายต่อฝาด้านในหรือชุดฝา กระทั่งทำให้ฝากระเด็นออกมาจนเกิดอันตรายได้ - ของที่เสียง่าย อาทิ ของสด (เนื้อที่ยังไม่ผ่านการทำให้สุก อาหารทะเล
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ไข่)
เป็นต้น
เนื่องจากส่วนผสมอาจเน่าเสียได้ ในกรณีที่เก็บไว้ในกระติกเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดแก๊สจากการเน่าเสีย แรงดันภายในกระติกสูงขึ้น ทำให้อาหารหรือเครื่องดื่มล้นออกมา หรือมีโอกาสที่ฝาจะกระเด็นออกมาจนเกิดอันตรายได้ - อาหารประเภทซุปแช่แข็งหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม จำเป็นต้องปรุงด้วยความร้อนก่อนใส่ลงในกระติกเพื่อป้องกันอาหารเสีย เน่าบูด
แกงกะหรี่หรือสตูว์สามารถใส่ใน Food Jar/ Lunch Jar ได้ แต่ควรใส่ขณะที่ยังร้อนและเพิ่งปรุงสุกใหม่ สามารถใส่ข้าวได้เช่นกัน แต่ควรเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่และใส่ลงกระติกในขณะที่ยังร้อนเช่นกัน
ผักและผลไม้ก็สามารถใส่ลงใน Food Jar/Lunch Jar ได้ แต่มีข้อควรระวังที่พึงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดดังต่อไปนี้
- กรุณาใช้ผักหรือผลไม้ที่เพิ่งซื้อซึ่งยังมีความสดใหม่อยู่ และควรล้างด้วยน้ำให้สะอาดก่อนนำไปใช้
- กรุณาล้างมือให้สะอาดก่อนเริ่มเตรียมหรือปรุงอาหาร
- กรุณาอย่าใช้เขียงหรือมีดที่ผ่านการใช้กับเนื้อหรือปลาสดมาหั่นผักและผลไม้
หากต้องการใช้เขียงหรือมีดดังกล่าว กรุณาล้างเพื่อฆ่าเชื้อให้สะอาดดีก่อนใช้การงาน - กรุณานำผักสลัดหรือผลไม้ที่หั่นแล้วไปแช่ในตู้เย็นให้เย็นเพียงพอก่อน จึงใส่ลงในกระติกเก็บอุณหภูมิ
Read More Read Less
ในกรณีที่ตัวกระติกเก็บอุณภูมิ Food Jar หรือปิ่นโตเก็บอุณหภูมิ Lunch Jar
ถูกกระแทกอย่างรุนแรงจากการชนหรือการทำหล่น เป็นต้น
อาจทำให้ผิวหน้าของแสตนเลสยุบได้
เมื่อผิวหน้าแสตนเลสของตัวกระติกเกิดการยุบตัวจนผิวด้านในและด้านนอกสัมผัสกัน
อาจส่งผลให้กระติกไม่สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิได้อีก
นอกจากนี้
การใช้สารฟอกขาวประเภท Chlorine Bleach
การเหลือน้ำซุปหรือกับข้าวทิ้งไว้เต็มกระติกเป็นเวลานาน
หรือการใช้เครื่องล้างหรืออบจาน คือสาเหตุของการเกิดสนิมหรือรูที่ตัวกระติก
ซึ่งส่งผลให้กระติกไม่สามารถเก็บอุณหภูมิได้อีกต่อไป
หลังจากเทน้ำร้อนลงในกระติกและทิ้งไว้สักครู่แล้ว
หากด้านนอกของกระติกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
แสดงว่าตัวกระติกไม่มีประสิทธิภาพในการเก็บอุณหภูมิแล้ว
ในกรณีดังกล่าวกรุณาหยุดใช้ทันที
เนื่องจากตัวกระติกไม่สามารถเก็บอุณหภูมิได้อีกและอาจทำให้เกิดการลวกได้
Read More Read Less
มาตรฐานการเก็บอุณหภูมิความร้อนและเย็น โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 6 ชั่วโมง ดังนั้นกรุณารับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่อยู่ในกระติกให้หมดภายใน 6 ชั่วโมง
กรุณาหลีกเลี่ยงการเก็บอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ในกระติกเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุของปัญหาดังนี้
- อาหารหรือเครื่องดื่มที่ถูกเก็บเป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดแก๊สจากการเน่าเสีย แรงดันภายในกระติกสูงขึ้น และเมื่อ เปิดฝา อาหารหรือเครื่องดื่มอาจหกออกมาหรือชุดฝากระเด็นออกจนเกิดอันตรายได้
- เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนผสมของเกลือ เช่น ซุปมิโซะ ซุปอื่นๆ เครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น เนื่องจากเกลือเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมและส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเก็บอุณหภูมิลดลง
- การเน่าเสีย การเกิดเชื้อรา การเกิดกลิ่นหรือการเปลี่ยนสี คือสาเหตุที่ทำให้กระติกน้ำรั่วซึม
Read More Read Less
- การดูแลทำความสะอาดฝา (ยกเว้นฝากล่องพลาสติกใส่ข้าว) ชุดกล่องพลาสติก
(กล่องใส่กับข้าวและซุป) ตัวกล่องพลาสติกใส่ข้าว ตะเกียบ
กล่องใส่ตะเกียบ
ทำความสะอาดโดยการนำไปแช่ในน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจานแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จากนั้นเช็ดน้ำออกและนำไปตากจนแห้ง
หลังจากใช้งานเสร็จแล้วทุกครั้ง กรุณาถอดชิ้นส่วนยางออกก่อนล้างทำความสะอาด และอย่าลืมประกอบชิ้นส่วนยางกลับเข้าไปก่อนการใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้กรุณาอย่าปิดฝาในขณะที่ตากอยู่ - การดูแลทำความสะอาดตัวกระติกเก็บอุณหภูมิ Food Jar ตัวปิ่นโตเก็บอุณหภูมิ Lunch
Jar และฝากล่องพลาสติกใส่ข้าว
- ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำอุ่น นำฟองน้ำไปชุบแล้วเช็ดทำความสะอาดตัวผลิตภัณฑ์
- ล้างน้ำยาออกด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด
- เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าเนื้อนุ่ม
กรุณาถอดยางของกล่องพลาสติกใส่ข้าว (รุ่นที่มียาง) ออกทุกครั้งก่อนการล้าง
นอกจากนี้หลังการล้างทำความสะอาด อย่าลืมประกอบชิ้นส่วนยางกลับเข้าไปด้วยทุกครั้ง - การดูแลทำความสะอาดกระเป๋าและสายห้อย
ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำอุ่นเข้าด้วยกัน แล้วชุบด้วยผ้าเนื้อนุ่ม บิดให้หมาดก่อนน้ำไปเช็ดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ด้านในตัวกระเป๋า
วัสดุของผ้าภายในกระเป๋ามีคุณสมบัติกันน้ำได้ระดับปานกลาง (Water repellent) แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการกันน้ำขั้นสูงสุด (Waterproof)
ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการกันน้ำจะลดลงตามอายุการใช้งาน หากมีรอยขีดข่วนบนเนื้อผ้า ก็อาจทำให้ ประสิทธิภาพในการกันน้ำลดลงเช่นกัน และกรุณาอย่าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของเอทานอล หรือแอลกอฮอลล์กับตัวกระเป๋าและสายห้อย
Read More Read Less
การทำความสะอาด Food Jar หรือ Lunch Jar ด้วยเครื่องล้างหรืออบจาน
เป็นสาเหตุที่ทำให้อะไหล่เปลี่ยนรูปและเสียหายได้
การใช้อะไหล่ที่เปลี่ยนรูปไปนั้นจะเป็นสาเหตุของการรั่วซึมของเครื่องดื่มหรืออาหารภายในกระติก
ดังนั้นกรุณาหยุดใช้อะไหล่ดังกล่าว
Read More Read Less
การกระทำดังต่อไปนี้ ทำให้ภายในภาชนะเก็บอุณหภูมิมีแรงดันสูงขึ้นซึ่งส่งผลให้ฝาแน่นขึ้นจนไม่สามารถเปิดออกได้
- เมื่อวอร์มกระติกให้ร้อน หรือเมื่อใส่อาหารหรือเครื่องดื่มร้อน
- เมื่อใช้เก็บอุณหภูมิร้อนเย็นเป็นเวลานานจนอาหาร/เครื่องดื่มเน่าเสียและเกิดก๊าซ
หากฝาเปิดไม่ออก 1. ถอดฝาบนออก 2. นำไม้ปลายทู่ เช่น หลังไม้จิ้มฟัน ดันลงไปในรูซึ่งอยู่กึ่งกลางฝา (ระวังอย่าทำยางฉีกขาด) เพื่อระบายแรงดันภายใน แล้วจึงเปิดฝา
Read More Read Less
ภาชนะใส่กับข้าวถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถเก็บอุณหภูมิได้
เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
(มีเพียงภาชนะใส่ข้าวและซุปเท่านั้นที่สามารถเก็บอุณหภูมิได้)
แบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการเน่าเสียจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 25°C - 40°C
กรุณาเลือกกับข้าวที่ทำจากวัตถุดิบที่เน่าเสียยาก
พร้อมทั้งผ่านความร้อนและผึ่งให้เย็นก่อนบรรจุลงภาชนะ
Read More Read Less
แม้ภาชนะทุกชิ้นของ Lunch Jar จะสามารถใช้กับเตาไมโครเวฟได้ แต่กรุณาปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้เมื่ออุ่นอาหาร
- กรุณานำฝาของแต่ละภาชนะออกก่อนเข้าไมโครเวฟ การไม่นำฝาออกเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนรูปร่างหรือเกิดความเสียหายได้
- ไม่นำตัวกระติกเก็บอุณหภูมิเข้าเตาไมโครเวฟ (อาจทำให้เกิดประกายไฟได้)
- ไม่ใช้กับฟังก์ชันเตาอบหรือย่างที่มีในเตาอบระบบมัลติฟังก์ชัน หลังจากใช้ฟังก์ชันเตาอบหรือย่างแล้ว กรุณาพักเตาให้เย็นลงก่อน จึงนำภาชนะเข้าอุ่นร้อน มิเช่นนั้นอาจทำให้ภาชนะเปลี่ยนรูปร่างได้
- ไม่นำภาชนะเปล่าทุกชนิดเข้าเตาไมโครเวฟ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ภาชนะเปลี่ยนรูปร่างได้
- ไม่อุ่นอาหารที่มีสัดส่วนของน้ำมันหรือน้ำตาลจำนวนมากด้วยระยะเวลานาน เพราะเป็นสาเหตุให้ภาชนะอุณหภูมิสูงขึ้นจนเปลี่ยนรูปร่างได้
Read More Read Less
Rice Cooker
- สาเหตุเกิดจากเซนเซอร์ที่ฝา เซนเซอร์ที่ก้นหม้อ
หรือเซนเซอร์ด้านข้างมีความร้อนสูง
※ โปรดระวังอย่าให้ถูกลวก
→ กดปุ่ม “ยกเลิก”แล้วเปิดฝาด้านนอกทิ้งไว้ให้ตัวเครื่องเย็นประมาณ 30 นาที (เวลาอาจแตกต่างกันในแต่ละรุ่น)
→ กรณีที่อยากให้ตัวเครื่องเย็นไวขึ้น・・・ - ใส่น้ำแข็งลงในหม้อเพื่อทำให้ด้านในของหม้อเย็น
- เปิดฝาด้านนอก และถอดเซ็ตฝาด้านในออกเพื่อให้แผงทำความร้อนเย็นตัว
ในกรณีที่ลองปฏิบัติตามคำแนะนำแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กรุณาติดต่อร้านที่ท่านซื้อสินค้า ศูนย์บริการที่บริษัทกำหนดหรือติดต่อมาที่บริษัทโดยตรง
Read More Read Less
กรุณาติดต่อร้านที่ท่านซื้อสินค้า ศูนย์บริการที่บริษัทกำหนดหรือติดต่อมาที่บริษัทโดยตรง
Read More Read Less
- ล้างชุดฝาด้านใน
- เทน้ำเปล่าลงในหม้อที่ล้างแล้ว โดยสังเกตที่เส้นระดับน้ำของข้าวขาว (ไซส์ 0.5
กับ 1 เทถึงขีด [1], ไซส์ 1.8 เทถึงขีด [2])
จากนั้นใส่หม้อกลับลงไปที่ตัวเครื่อง
※ กรุณาอย่าใส่น้ำประเภทอื่น (เช่น น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น) หรือใส่น้ำเกินขีดที่กำหนดเด็ดขาด - ปิดฝานอกแล้วเลือกประเภทข้าวเป็น “ข้าวขาว”จากนั้นเลือกเมนู “หุงด่วน”หรือในกรณีของรุ่นที่ไม่มีให้เลือกประเภทข้าว ให้เลือกเมนู“หุงด่วนข้าวขาว”แล้วกดปุ่ม “เริ่มหุง/อุ่นซ้ำ”
- เมื่อเสียงเพลงดังขึ้น และเครื่องเปลี่ยนไปที่โหมดอุ่นแล้ว ให้กดปุ่ม
“ยกเลิก”
※ เนื่องจากด้านในยังร้อนอยู่ กรุณารอจนตัวเครื่องเย็นลงดี จึงเทน้ำร้อนด้านในทิ้ง แล้วนำผลิตภัณฑ์ไปทำความสะอาด
กรุณาใช้ฟังก์ชันการทำความสะอาดที่ติดมากับตัวเครื่องตามแต่ละรุ่น
หรือสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคู่มือ หัวข้อ
“การทำความสะอาดกรณีมีกลิ่นไม่พึงประสงค์”
อาจมีบางกรณีที่ไม่สามารถกำจัดกลิ่นได้หมด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความแรงของกลิ่น
ในขณะที่ด้านในยังร้อนอยู่จะไม่สามารถกดปุ่มทำงานได้
ดังนั้นกรุณากดปุ่มทำความสะอาดหลังจากด้านในเย็นตัวลงแล้ว
เมื่อปฏิบัติตามข้อ "3." แล้ว ในกรณีที่ต้องการหยุดการทำความสะอาด กรุณากดปุ่ม
“ยกเลิก” ในขณะที่เครื่องทำความสะอาดอยู่นั้น จะมีไอน้ำออกมาจากช่องระบายไอน้ำมาก
กรุณาระวังอย่าให้โดนไอร้อนลวก
นอกจากนี้ ห้ามกดหุงในขณะที่ยังไม่ใส่น้ำลงในหม้อก่อนเป็นอันขาด
Read More Read Less
- อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้ ล้างข้าวไม่สะอาดพอ ทำให้ยังเหลือรำข้าวอยู่
- อุ่นข้าวปริมาณน้อยด้วยเวลานานเกินไป
- ไม่คนข้าวให้ดีหลังจากข้าวหุงสุกแล้ว
- อุ่นข้าวเกินเวลาที่คู่มือเขียนกำหนดไว้
- ล้างหม้อหุงข้าวไม่สะอาดเพียงพอหลังการใช้งาน
- อุ่นข้าวโดยทิ้งทัพพีไว้ด้านใน
- อุ่นข้าวในขณะที่ปลั๊กเสียบถอดอยู่หรือไม่ได้กดโหมดอุ่นไว้
- พยายามอุ่นข้าวที่ถูกทิ้งไว้จนเย็นแล้ว
- อุ่นข้าวผสม ข้าวที่มีการปรุงรส หรือข้าวมีส่วนผสมของหอย
- อุ่นอาหารอื่นที่ไม่ใช่ข้าว เช่น ซุปต่าง ๆ ทอดมัน เป็นต้น
Read More Read Less
สารเคลือบป้องกันการติดอาจเสื่อมสภาพจากการใช้งาน
สีของสารเคลือบกันติดอาจเปลี่ยนสีหรือหลุดลอกได้ แต่ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานและไม่มีผลเสียต่อร่างกาย สามารถใช้หุงข้าวหรืออุ่นอาหาร ได้ต่ออย่างไร้ปัญหา
หากกังวลเกี่ยวกับการหลุดลอกของหม้อ สามารถซื้อหม้อใบใหม่เปลี่ยนได้
※กรุณาปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้ เพื่อยืดอายุการใช้งานหม้อเมื่อเตรียมหุงข้าว
- นำสิ่งแปลกปลอม (เช่น หิน) ที่ปนอยู่ในข้าวสารออกก่อน จึงซาวข้าว
- ไม่ซาวข้าวด้วยอุปกรณ์ เช่น ตะกร้อตีไข่
- ไม่ซาวข้าวด้วยกระชอนที่ทำจากโลหะ
- ไม่ใช้หม้อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ยกเว้นหม้อหุงข้าว
- ไม่ผสมน้ำส้มสายชูภายในหม้อ (เมื่อทำข้าวซูชิ)
- ไม่ใช้ทัพพีที่ทำจากโลหะ (เมื่อใช้ตักโจ๊ก/ข้าวต้ม เป็นต้น)
- ไม่ใช้ทัพพีกระแทกตัวหม้อ (เมื่อตักข้าว เป็นต้น)
- ไม่วางช้อนหรือภาชนะในหม้อ
- กรณีที่ใช้เครื่องปรุงรส ให้ล้างหม้อทันทีหลังจากใช้เสร็จ
- ทำความสะอาดด้วยอุปกรณ์ที่มีสัมผัสอ่อนนุ่ม เช่น ฟองน้ำ เป็นต้น (ห้ามใช้กับฟองน้ำเมลามีน)
- ไม่ใช้กับผลิตภัณฑ์ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน ผงขัด ฝอยขัด (ผลิตจากไนลอน โลหะ) ฟองน้ำเมลามีน สารฟอกขาว เป็นต้น
Read More Read Less
ไม่ต้องกังวล ทีมสนับสนุนของเราจะช่วยคุณได้
Except Spare Part